blogครูจอย

My Work






วัสดุ / อุปกรณ์ / วิธีการกัดกระจก






















วัสดุ / อุปกรณ์ / วิธีการกัดกระจก

วัสดุ / อุปกรณ์งานสลักลายกระจก
-    กระจก อาจใช้กระจกเงา  ใส  หรือชาดำ ก็ได้
-    สติกเกอร์   มีคุณภาพดี ไม่ควรใช้สติกเกอร์ใส
-    น้ำยาทำความสะอาดกระจก
-    หนังสือพิมพ์  ใช้สำหรับรองชิ้นงาน และทำความสะอาดกระจก
-    รูปต้นแบบ  อาจจะเป็นภาพวาด หรือ ถ่าย เอกสารก็ได้
-    กาวสเปรย์ 3M ใช้ฉีดด้านหลังของภาพต้นแบบ  (สามารถตัดสติกเกอร์ได้ทันทีไม่ต้องรอให้กาวแห้ง)
-    มีดคัตเตอร์  ใช้ตัดสติกเกอร์ที่ติดอยู่บนแผ่นกระจก ไม่ควรตัดซ้ำหลายๆครั้ง
-    ดินน้ำมัน  ใช้ทำขอบกั้นน้ำกรดที่ใช้สลักลาย
-    กรดสลักลายกระจก (ชนิดสลักลึก)  ใช้สลักลายกระจก   (คือ กรดไฮโดรฟลูออริก HF)
-    กรดสลักลายกระจก (ชนิดสลักฝ้า) ใช้สลักลายกระจก หรือใช้วัสดุอื่น
-    แปรงสำหรับทำความสะอาดกระจก หลังจากการสลักลายแล้วเสร็จ
-    น้ำยาลงทอง  (ยางรัก)  ใช้ทากระจก
-    ทองคำเปลว 100%  ใช้ปิดลงบนชิ้นงานหลังจากทาน้ำยางลงทอง
-    ผงทอง  ใช้ปิดลงบนชิ้นงานหลังจากทาน้ำยางลงทอง
-    ภู่กันขนาดต่างๆ  3, 5, 10 มิลลิเมตร  ใช้ทากระจกฯ  (ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน)
-    ใบมีดคัตเตอร์  ใช้เป็นใบมีดสำรอง
-    ทินเนอร์  ใช้ล้างทำความสะอาดภู่กัน
-    สำลี  ใช้ชุบทินเนอร์ทำความสะอาดคราบสกปรก
วิธีการสลักลายกระจก
2.    การติดสติกเกอร์
2.1      เลือกสติกเกอร์ที่มีคุณภาพดี  มียี่ห้อ
2.2      ควรใช้สติกเกอร์สีขาวผิวเรียบ
2.3      นำไปติดกับที่แผ่นกระจกที่เตรียมไว้และรีดไล่ฟองอากาศออกให้เรียบ
2.4      ถ้าหากยังไม่เรียบให้ดึงสติกเกอร์ขึ้นมาอีกครั้งและทำการรีดซ้ำจนเรียบ

คำแนะนำ
2.1.1    ไม่ควรเลือกสติกเกอร์ใสเพราะเวลาตัดจะไม่สามารถแยกสติกเกอร์หรือกระจกได้ในกรณีที่เป็นกระจกเงา
2.1.2    ไม่ควรใช้สติกเกอร์ หนาเกินไป
2.1.3    สติกเกอร์ที่ใช้ต้องมีคุณภาพดีไม่มีกาวติดกระจก (ขณะที่ดึงสติกเกอร์ออก)
2.1.4    ควรนำกระดาษรองแผ่นสติกเกอร์ไปรองด้านหลังของกระจกเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน
2.1.5    สติกเกอร์ควรจะมีขนาดใหญ่กว่ากระจก ข้างละ 1 นิ้ว เพื่อสะดวกในการปิดทับกระดาษรอง กระจกด้านหลัง
3.  การเลือกรูปภาพต้นแบบ
3.1    ถ้าในกรณีที่เป็นการฝึกหัด ควรเลือกภาพที่ลวดลายที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก
3.2    หรืออาจจะวาดภาพขึ้นมาเอง  เช่น สัญลักษณ์ต่างๆ หรือภาพวิวภาพเหมือน และภาพอื่น ๆ
3.3    ตัดภาพต้นแบบโดยมีระยะห่างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
3.4    จัดวางตำแหน่งของรูปภาพต้นแบบ ให้เหมาะสม จากนั้นทำเครื่องหมายให้ชัดเจน

คำแนะนำ
3.1.1    การติดรูปภาพต้นแบบควรจะให้เหลือขอบอย่างน้อย 1 นิ้วขึ้นไป  (เพื่อให้สามารถกั้นดินน้ำมันได้)
3.1.2    หากไม่มีการตัดรอบรูปภาพต้นแบบ ขณะเทน้ำกรดฯ ลง ที่ชิ้นงานจะทำให้น้ำกรดซึมผ่านกระดาษต้นแบบ ก่อให้เกิดความเสียหายได้
4.  การผนึกรูปภาพ
4.1     ควรใช้กาวคุณภาพดี มีขายตามห้างร้านทั่วไป  (แต่ราคาจะแพง)  หลังจากที่ผนึกภาพ สามารถติดสติกเกอร์ได้ทันที  (กาวสเปรย์  3M)
4.2     หรือใช้กาวหลอดทาด้านหลักรูปและนำมาผนึกบนสติกเกอร์ จะทิ้งไว้ให้แห้ง  ประมาณ 20-30  นาที

คำแนะนำ
4.1.1    ควรผนึกรูปให้เรียบเพื่อความสะดวกในการตัดสติกเกอร์
4.1.2    รูปต้นแบบควรจะอยู่กึ่งกลางของชิ้นงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสม
5.  การตัดสติกเกอร์
5.1    การตัดสติกเกอร์  ควรเลือกตัดสีขาว หรือสีดำ (ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน)
5.2    ตัดสติกเกอร์ที่จุดเล็กที่สุดหรือจุดที่ยากที่สุดก่อนทุกครั้ง
5.3    ตั้งมีดให้ตรง จากนั้นลากไปตามที่ต้องการ  ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยกใบมีด  ขึ้น-ลง จะทำให้
5.4    บริเวณที่ตัดไ ม่สวยงาม หรือมีหลายเส้น
5.5    น้ำหนักที่กดใบมีด ต้องสม่ำเสมอ
5.6    หากกดใบมีดแรงเกินไป จะทำให้ใบมีดหัก
5.7    การตัดสติกเกอร์ควรจะตัดเป็นลำดับ เช่น  จากบนลงล่าง ตามขั้นตอน

คำแนะนำ
5.1.1    เศษสติกเกอร์ที่ตัดและลอกออกมาควรติดไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของกระจก เพื่อสะดวกในการเก็บและไม่สกปรก
6.  การกั้นดินน้ำมัน
6.1    นำดินน้ำมันมาทุบเบาๆ จากนั้น คลึงไป- มา ให้เป็นเส้นยาวพอประมาณ เส้นผ่าศูนย์  - กลาง  2- 3 เซนติเมตร
6.2      กดดินน้ำมันลงบนสติกเกอร์ให้แน่น อาจเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือวงรีก่อน  (ตามรูปภาพ)

คำแนะนำ
- ดินน้ำมันควรจะนำมทุบให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะนำไปกั้นน้ำกรดสลักลาย
- การกดดินน้ำมันควรกดลงในแนวดิ่ง  เพื่อป้องกันมิให้น้ำกรดฯ ไหลซึมผ่านออกไป
- ไม่ควรนำดินน้ำมันตากแดด (ในขณะที่ติดชิ้นงานแล้ว)  เพราะจะทำให้เกิดการอ่อนตัวและ   ละลายได้จะทำให้น้ำกรดไหลออกจากชิ้นงาน
7.  การเทน้ำกรดสลักลาย
7.1    การเทกรดสลักลายควรเทในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกควรสวมถุงมือยาง และมีผ้าปิดจมูกทุกครั้งเทกรดสลักลาย อย่างระมัดระวังอย่าให้โดนให้โดนผิวหนังหรือส่วนอื่นของร่างกายก่อนทำการเทกรดฯควรรองชิ้นงานได้ระดับสม่ำเสมอ  การสลักลายจะเกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น

คำแนะนำ
7.1.1    ไม่ควรเทกรดสลักลายตากแดดที่จ้า เพราะจะทำดินน้ำมันละลาย
7.1.2    ควรกดดินน้ำมันต้องยึดกับชิ้นงานให้ดี จนกว่าจะแน่ใจว่าน้ำกรดฯ ไม่มีการไหลซึมผ่านได้
8.  การทำความสะอาดชิ้นงาน
8.1    นำชิ้นงานที่ทำการสลักลายแล้วต้องนำมาล้างและทำความสะอาดโดยการใช้น้ำสะอาด  พร้อมแปรงขัดถูคราบสกปรกออกให้หมด
8.2    การล้างควรเปิดน้ำผ่านเพื่อให้กระจกมีความสะอาดเป็นเงางามปราศคราบสกปรก
8.3    หากส่วนใดต้องการจะสลักลายให้เกิดเป็นฝ้าสีขาวขุ่นควรใช้แปรงขัดบริเวณนั้นให้สะอาด
9.  การตกแต่งชิ้นงาน
9.1    ใช้พู่กันจุ่มสีลงทอง  (หรือยางรัก)  ทาบนผิวกระจกในส่วนที่ต้องการให้เป็น  สีทองให้ทั่ว  และสม่ำเสมอ
9.2    ควรทาสีลงทองอย่างพอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป  หากทาสีลงทองมากไปจะทำให้ทองคำเปลวหรือทองผงเกิดรอยย่น  ขาดความสวยงาม
9.3    ใช้ทองผงเทลงในส่วนที่เตรียมไว้ใช้แปรงขนอ่อนขัดเบา ๆ ให้ทั่วชิ้นงาน
9.4    เมื่อชิ้นงานแห้งสนิทแล้วใช้ใบมีดคัตเตอร์ขูดเก็บงานส่วนที่เกินหรือส่วนที่เราไม่ต้องการออกให้หมด จากนั้นนำไปทำกรอบรูปเพื่อจำหน่าย  หรือมอบเป็นของที่ระลึก ต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น